กรุงเทพมหานคร (กทม.) มีความพร้อมที่จะพัฒนาความร่วมมือ 5 ด้าน กับ สวทช. เพื่อใช้ประโยชน์จากงานวิจัยและเทคโนโลยีที่ สวทช. พัฒนาขึ้น ได้แก่
1. การบริหารจัดการจราจรด้วยระบบอัจฉริยะ (ITMS) เพื่อบริหารจัดการจราจรทั้งโครงข่ายและกวดขันวินัยจราจร
2.ระบบแพทย์ทางไกล หรือ Telemedicine
3.การศึกษาทางไกล เรื่องสื่อการสอนวิทยาศาสตร์ให้มีคุณภาพมาตรฐานเดียวกัน
4.ด้าน Open DATA เปิดเผยข้อมูลโปร่งใส
5. เรื่องการจัดการสิ่งแวดล้อม ทั้งปัญหาฝุ่นและขยะ เป็นต้น
ทั้งหมดนี้จะเป็นการใช้ประโยชน์ของเทคโนโลยีเพื่อช่วยปฎิรูปการทำงานของระบบราชการ จากการทำงานที่เคยเป็นแบบระบบท่อ ก็เปลี่ยนเป็นการรับเรื่องแก้ปัญหาอยู่บนแพลตฟอร์มและช่วยกันให้บริการประชาชน ซึ่งมีการแก้ปัญหาได้อย่างทันท่วงทีโดยที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครไม่จำเป็นต้องสั่งการด้วยตัวเอง ที่สำคัญทุกคนสามารถเห็นว่าทุกคำร้องใช้เวลานานเท่าไหร่ในการแก้ไขปัญหา และมีความโปร่งใสเท่าเทียมกันบนดิจิทัลแพลตฟอร์ม
สวทช. ยังมีผลงานวิจัยที่ส่งเสริมการดูแลสุขภาพให้พี่น้องประชาชน เช่น ระบบ A-MED Telehealth แพลตฟอร์มบริการทางการแพทย์ทางไกล ตัวช่วยบุคลากรทางการแพทย์ดูแลผู้ป่วยโรคโควิด-19 กลุ่มสีเขียวและเหลือง ในช่วงวิกฤติการระบาดของโรคโควิด-19 รวมกว่า 1.3 ล้านคน ครอบคลุม 1,500 โรงพยาบาลทั่วประเทศ และเตรียมขยายผลสู่ A-MED Care โดยดำเนินการร่วมกับสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) สภาเภสัชกรรม ร้านยาคุณภาพ สำหรับดูแลผู้ป่วยกลุ่มโรคทั่วไป โดยไม่ต้องมาโรงพยาบาล ช่วยลดการเดินทางและค่าใช้จ่ายผู้ป่วย รวมถึงลดความแออัดให้แก่สถานพยาบาล ปัจจุบันมีร้านขายยาในกรุงเทพมหานครที่ได้รับการตรวจสอบและขึ้นทะเบียนแล้วกว่า 600 ร้าน สามารถดูแลผู้ป่วยกว่า 10,000 คน
งานวิจัยที่ สวทช. โดยเนคเทค ได้นำร่องใช้กับกรุงเทพมหานคร อาทิ แพลตฟอร์มรับเรื่องและบริหารจัดการเมือง หรือ Traffy Fondue โดยประชาชนแจ้งปัญหาผ่าน Chatbot ทาง Line Application : @traffyfondue ซึ่งระบบจะวิเคราะห์ปัญหาและส่งไปให้หน่วยงานผู้รับผิดชอบ ช่วยให้เจ้าหน้าที่แก้ไขปัญหาได้อย่างสะดวกรวดเร็ว ตรงตามความต้องการของประชาชน ปัจจุบันมีผู้เข้ามาแจ้งปัญหาในกรุงเทพมหานครมากกว่า 180,000 เรื่อง ได้รับการแก้ปัญหาแล้วกว่า 120,000 เรื่อง
นอกจากนี้ในด้านการให้บริการสาธารณสุข เนคเทค สวทช. ได้พัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการส่งต่อผู้ป่วย (e-Referral) เป็นระบบอิเล็กทรอนิกส์หลังบ้านเพื่อส่งต่อผู้ป่วยจากระดับปฐมภูมิไปยังระดับทุติยภูมิ และส่งต่อไปยังตติยภูมิหรือหน่วยงานเฉพาะทาง และสามารถส่งต่อระหว่างจากหน่วยปฐมภูมิ (e-Referral) สู่โรงพยาบาล โดยแพทย์สามารถติดตามข้อมูลการรักษาของผู้ป่วยทั้งสองฝั่งแบบ Real Time และส่งกลับเพื่อการรักษาได้ต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพ รองรับการทำงานการรับส่งต่อผู้ป่วยเพื่อดูแลต่อที่บ้าน (Home Health Care) ช่วยลดปัญหาความแออัดในการใช้บริการของผู้ป่วยในโรงพยาบาล ปัจจุบันมีโรงพยาบาลสังกัดกรุงเทพมหานครใช้งานระบบ e-Referral แล้ว 7 แห่ง ได้แก่
1. รพ.กลาง
2. รพ.เจริญกรุงประชารักษ์
3. รพ.ตากสิน
4. รพ.ราชพิพัฒน์
5. รพ.สิรินธร
6. รพ.หลวงพ่อทวีศักดิ์ฯ และ
7. รพ.วชิรพยาบาล มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช
อ่านเพิ่มเติมได้ที่ : https://www.nstda.or.th/home/news_post/pr-traffyfondue/
ไม่ขายฝัน ทุกอย่างเป็นจริงได้ด้วยความร่วมมือ
กทม. ผนึก สวทช. ดึงเทคโนโลยีและนวัตกรรม ยกระดับคุณภาพชีวิตคนกรุงฯ อย่างไร ขมวดให้ในโพสนี้
อ่านเพิ่มเติมได้ที่ : https://www.nstda.or.th/home/news_post/pr-traffyfondue/
เผยแพร่โดย : นางสาวสุวดี เหมือนอ้น
กลุ่มสื่อสารองค์กร (สอ.)
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
โทรศัพท์ 0 2333 3700 ต่อ 3880
E-mail : pr@mhesi.go.th
Facebook : @MHESIThailandth
Instagram : mhesi_thailand
Tiktok : mhesi_thailand
Twitter : @MHESIThailand
Call Center โทร.1313
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)
เป็นหน่วยงานของรัฐที่จัดตั้งขึ้นเพื่อขับเคลื่อนการอุดมศึกษาไทย วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ไปสู่มาตรฐานในระดับสากล และเพิ่มอันดับความสามารถการแข่งขันในระดับนานาชาติอย่างยั่งยืน ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหากำไร หากท่านพบว่ามีข้อมูลใดๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์นี้ โปรดแจ้งให้ทราบ เพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุดต่อไป
© 2020 Ministry of Higher Education, Science, Research and Innovation. ALL RIGHTS RESERVED.