“อว. ทำอะไรเพื่อคนไทยบ้าง?”
ภารกิจที่ 2 โรงพยาบาลสนาม อว. กองหนุนขนาดยักษ์
นับตั้งแต่มีการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ในระลอกแรก นำมาสู่ความกังวลของผู้คนทั้งประเทศ ด้วยโรคระบาดที่เกิดจากการสัมผัสและใกล้ชิดกัน ทำให้การดูแลรักษาจึงต้องอยู่ใน ‘พื้นที่ที่แยกตัวออกจากชุมชน’ โดยพื้นที่ที่มีระยะห่างและเหมาะสมกับการดูแลรักษาโรคภัยที่สุด คงหนีไม่พ้นโรงพยาบาล ซึ่งจากการรับมือของโรงพยาบาลไทยที่มีระบบสาธารณสุขดีที่สุดติดอันดับท็อป 10 ของโลก ทำให้ช่วงแรกที่ยังมีจำนวนผู้ป่วยไม่มาก ทางโรงพยาบาลจึงสามารถรองรับผู้ติดเชื้อได้อย่างดีเยี่ยมและเกิดข้อบกพร่องน้อยที่สุด
แต่เมื่อเข้าสู่ปีที่ 2 ของการระบาด ที่สถานการณ์ของโรคเริ่มเปลี่ยนไป ไวรัสกลายพันธุ์ เกิดผู้ป่วยระลอกใหม่ที่มีการติดเชื้อจำนวนหลักร้อย หลักพัน กระทั่งถึงหลักหมื่นคนต่อวันกระจายไปทั่วประเทศ การดูแลรักษาของโรงพยาบาลเริ่มตึงมือและสถานการณ์เริ่มเข้าสู่ภาวะวิกฤติ เพราะโรงพยาบาลไม่สามารถรองรับผู้ป่วยจำนวนมากและเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องได้ ผู้คนจึงเริ่มตื่นตระหนก เพราะหากติดเชื้อขึ้นมาก็ไม่รู้ว่าจะไปรักษาตัวที่ใด
กระทรวง อว. ที่ทำงานใกล้ชิดกับโรงพยาบาลสังกัดโรงเรียนแพทย์ รับรู้และเข้าใจถึงปัญหา ตลอดจนเล็งเห็นถึงความสำคัญของการช่วยเหลือพี่น้องประชาชนในภาวะวิกฤติมาโดยตลอด จึงมอบหมายให้ ‘มหาวิทยาลัยในสังกัด’ ที่มีความพร้อม เปิดพื้นที่มหาวิทยาลัยเป็นโรงพยาบาลสนามและศูนย์แยกกักชุมชน ซึ่งการเปลี่ยนบทบาทจากมหาวิทยาลัยไปเป็นโรงพยาบาลสนาม เริ่มต้นจากความตั้งใจดีของบุคลากรมหาวิทยาลัยที่อยากช่วยเหลือสังคม เมื่อรวมทีมและสร้างความเข้าใจกันแล้วจึงเดินหน้าสู่การประสานงานกับ ‘ฝ่ายปกครองส่วนท้องถิ่น’ และ ‘สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด’ เปลี่ยนพื้นที่เป็นโรงพยาบาลสนามที่พร้อมดูแลผู้ป่วยโควิด-19 โดยมหาวิทยาลัยบางแห่งใช้เวลาเพียงครึ่งวันก็สามารถเปิดรับผู้ป่วยเข้ามาดูแลรักษาได้ทันที เช่นเดียวกับศูนย์แยกกักชุมชน ที่กระทรวง อว. ร่วมกับท้องถิ่น จัดสรรอาคารสถานที่ในชุมชนเพื่อเตรียมรองรับผู้ป่วยในอีกทาง
ตั้งแต่วันที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2564 ถึงปัจจุบัน โรงพยาบาลสนามและศูนย์แยกกักชุมชนของกระทรวง อว. ทั้ง 74 แห่งทั่วประเทศในฐานะของ ‘กองหนุนขนาดยักษ์’ ได้ให้บริการและรองรับผู้ป่วยโควิด-19 ไปแล้วกว่า 110,000 คน และบางแห่งยังคงเปิดให้บริการ เพื่อเตรียมรองรับผู้ป่วย หากเกิดสถานการณ์ฉุกเฉินขึ้นอีกครั้ง
—————————
สำหรับผู้ที่สนใจอ่านชุดหนังสือ ‘เพราะเธอเป็นลมหายใจ’ เอกสารสำคัญทางประวัติศาสตร์ที่บอกเล่าและถอดบทเรียนการทำงานและความร่วมมือของชาว อว. เพื่อช่วยเหลือประชาชนชาวไทยให้ก้าวผ่านวิกฤติการณ์โรคระบาดโควิด-19 ตลอดช่วงเวลาที่ผ่านมา สามารถคลิกอ่านได้ที่ https://bit.ly/MHESIagainstCOVID19
เผยแพร่โดย : นางสาวสุวดี เหมือนอ้น
กลุ่มสื่อสารองค์กร (สอ.)
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
โทรศัพท์ 0 2333 3700 ต่อ 3880
E-mail : pr@mhesi.go.th
Facebook : @MHESIThailandth
Instagram : mhesi_thailand
Tiktok : mhesi_thailand
Twitter : @MHESIThailand
Call Center โทร.1313
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)
เป็นหน่วยงานของรัฐที่จัดตั้งขึ้นเพื่อขับเคลื่อนการอุดมศึกษาไทย วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ไปสู่มาตรฐานในระดับสากล และเพิ่มอันดับความสามารถการแข่งขันในระดับนานาชาติอย่างยั่งยืน ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหากำไร หากท่านพบว่ามีข้อมูลใดๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์นี้ โปรดแจ้งให้ทราบ เพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุดต่อไป
© 2020 Ministry of Higher Education, Science, Research and Innovation. ALL RIGHTS RESERVED.