ตามปกติแล้วน้ำยางสดที่เกษตรกรกรีดจากต้นยางพาราจะมีอายุเพียง 4-6 ชั่วโมงเท่านั้น หลังจากนั้นจะบูด แข็ง และส่งกลิ่นเหม็น ทำให้ที่ผ่านมาเกษตรกรแก้ปัญหาด้วยการใส่ 2 สารเคมีอันตรายเพื่อยืดอายุ สารแรกคือ ‘แอมโมเนีย’ ซึ่งมีกลิ่นฉุนและเป็นพิษต่อผู้ปฏิบัติงานและสิ่งแวดล้อม นอกจากนั้นยังระเหยง่ายทำให้ช่วยยืดอายุได้ไม่นาน อีกสารคือ ‘โซเดียมซัลไฟต์’ ซึ่งส่งผลโดยตรงต่อคุณภาพยาง เมื่อนำน้ำยางสดมาขึ้นรูปจะทำให้เกิดฟอง คุณภาพยางแผ่นลดลง ทำให้น้ำยางมีราคาถูก
จากปัญหาดังกล่าวนักวิจัยศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (เอ็มเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) จึงได้พัฒนา “BeThEPS (บีเทพ)” สารรักษาสภาพน้ำยางพาราสด เพื่อทดแทนการใช้สารเคมีอันตราย BeThEPS ช่วยยืดอายุน้ำยางสดได้นานกว่าเดิม 1-3 วัน ลดการเกิดของเสีย และลดความถี่ในการขนส่งให้แก่เกษตรกรได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้น้ำยางที่ใส่สาร BeThEPS ยังนำมาแปรรูปเป็นยางแผ่นรมควันได้มีคุณภาพ เหมาะแก่การนำไปผลิตเป็นยางล้อ ชิ้นส่วนยานยนต์ สายพานลำเลียง พื้นรองเท้า ยางปูพื้น และกาวยาง ช่วยให้เกษตรกรจำหน่ายน้ำยางได้ราคาดี ปัจจุบันเอ็มเทคได้ถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตสาร BeThEPS ให้แก่ 4 ผู้ประกอบการแล้ว ผู้ที่สนใจสามารถติดต่อได้ที่บริษัทเอกชนผู้รับถ่ายทอดเทคโนโลยี
รายละเอียดเพิ่มเติม สารบีเทพ (BeThEPS) สารรักษาสภาพน้ำยางสดเพื่อแปรรูปยางแผ่น
ที่มา : สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)
https://www.bcg.in.th/bcg-delight-betheps/?fbclid=IwAR2LTBztXtSt1P8lZrD5E4qfNl-CHPADsdTNH-hRgs5dYRXh7GVWsl7E58o
เผยแพร่โดย : นางสาวสุวดี เหมือนอ้น
กลุ่มสื่อสารองค์กร (สอ.)
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
โทรศัพท์ 0 2333 3700 ต่อ 3880
E-mail : pr@mhesi.go.th
Facebook : @MHESIThailandth
Instagram : mhesi_thailand
Tiktok : mhesi_thailand
Twitter : @MHESIThailand
Call Center โทร.1313
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)
เป็นหน่วยงานของรัฐที่จัดตั้งขึ้นเพื่อขับเคลื่อนการอุดมศึกษาไทย วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ไปสู่มาตรฐานในระดับสากล และเพิ่มอันดับความสามารถการแข่งขันในระดับนานาชาติอย่างยั่งยืน ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหากำไร หากท่านพบว่ามีข้อมูลใดๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์นี้ โปรดแจ้งให้ทราบ เพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุดต่อไป
© 2020 Ministry of Higher Education, Science, Research and Innovation. ALL RIGHTS RESERVED.